Phumriang : Community’s Context, Economic Base and Cultural Capital ; พุมเรียง : บริบทชุมชน ฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม

Dublin Core

Title

Phumriang : Community’s Context, Economic Base and Cultural Capital ; พุมเรียง : บริบทชุมชน ฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม

Description

Abstract This research aimed to find out the answers from 3 questions : 1) how is point of context of Phumriang community in changing condition 2) what are strength of economy based on natural resource and social capital of community and how are they exiting and changing 3) how do above mentioned points affect to community’s development and happiness. This research was conducted in area of Tambon Phumrian, Amphur Chaiya, Suratthani province by qualitative research methodology based on participatory research. The data were collected by surveying of area, finding modeling person, observation, interview, conservation, community forum and group discussion. The data analysis was done by content analysis based on concept of community analysis and structural-functional theory but data synthesis were done by mixing the data from interview harmoniously to make it under content’s frame which had been specified according to wanted objectives. The results of this research showed that The context of Phumriang community are as follow, in side of physical condition, Phumriang was the tambon of amphur chaiya, Suratthani province which was 1 in 3 tambon situated in end of east, it consists of 5 villages. In side of population, in present day there were 7,783 people in Phiumriang. In side of history, Phumriang was used to be important port in the past and was used to be center of government as important Amphur. In the side of society and culture, generally all Phumriang people which consists of Buddhist, Muslim and Chinese emphasizes to the elder persons and were very close with temple and mosque. In the side of economy and occupation, early people ‘s occupations in thambon Phumriang was farming and fishery, later, when system of capitalism economy had spread around Thailand, shrimp farming and gardening of palm happen widely. In side of politics and government/structure of Phumriang, Phumriang had been upgrade to be municipal district since 1999 government’s culture about power which related with support system or friend’s system, it was only changed by condition of capital, political leader and negotiation of various groups which had been occupied by capital’s network. In side of self sufficiency of community, Phumriang lived in the way of product of agriculture and fishery which depend on one-self in matter of labor and product. In side of basic structure, in the present day, public utility and public assistance of Phumriang which consist of water supply, electricity, communication, education, public health had been developed respectively. In side of Phumriang community’s state, due to type of area of tambon Phumriang was law land and up land, it make a settlement of community relating with state of area, that is, spatial distribution of the population in 5 villages. In side of problem’s state of Phumriang community, in the present day, the main problem’s state which had seen consist of trespassing and destroying of public area, public utility’s and public assistance’s problem, environment problem and drug problem. For economy, formerly, natural resource of Phumriang consisted of soil resource, water resource, forest resource and economic plants and animals were formerly plentiful, but now become lower. Personal resource of Phumriang can be divided into 3 groups ; group which was power in product, group which was age of depending on and group which was age of learning. Wisdom capital or local capital of Phumriang’s villagers may be classified according to application, that is, wisdom capital for sustenance, for protection of life and property, for building the status and power, for management of public benefit and for special creation. Afore mentioned wisdom capital in the present day of Phumriang had maintained in 3 types; that is out of date, up to date and ought to cumulative. But science and technology from outside in the present day had been found that in the part of industry Phumriang had brought modern technology to mix with manpower. It had increased quantity of product very much especially cotton weaving, fishery and food processing. The mental health of person and community of Phumriang in the present day had to confront with many risky factors which affect to mental health of life and property, for example, risky factor in behavior of food consuming and travelling. But the factors and limitations which concerning with explanation of economic status of Phumriang will covered 3 points ; that is, 1) basic factors about transportation, public utility, public health 2) power and base of power and 3) sources of all vices and drug which affect to the economic explanation very importantly. Cultural capital which including of learning culture, work culture and producing and consuming culture, conscious mind to locality and public mind, ethic and good government of people and way of power of culture about face and identity of people in Phumriang in the present day had changed from the beginning almost all, it arose from modern development of country. The capitalism economic system had entered and destroyed early culture in living along with conscious mind, public mind, ethic, and good government of people in Phumriang community in the present time. All persons in Phumriang community had succumbed in power of trend of globalization. They had no pride to being community, to economy based on natural resource, and to cultural capital of community which was valuable. They had lacked off conscious mind together in forming a group to resist a bad things for community and conscious mind together in intention to restore and to preserve a good things which existing in community to preserve usual. Keyword : Phumriang, Community’s Context, Economic Base, Cultural Capital ; งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคำตอบจากคำถาม 3 ประเด็น คือ 1) สาระของบริบทชุมชนพุมเรียงในภาวะการณ์การเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร 2) ฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม อันเป็นจุดแข็งของชุมชนคืออะไร มีอยู่และเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และ 3) ทั้ง 2 ประเด็นข้างต้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาและความสงบสุขของชุมชนอย่างไร งานนี้ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้ระเบียบวิจัยวิธีเชิงคุณภาพที่เน้นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เก็บรวมรวมข้อมูลด้วยการสำรวจพื้นที่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนา การจัดเวทีชุมชน การสนทนากลุ่ม เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิดวิเคราะห์ชุมชน และทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ ส่วนการสังเคราะห์ข้อมูลได้ผสมผสานข้อมูลจากการวิจัยแบบมีส่วนร่วมอย่างกลมกลืน เพื่อให้อยู่ภายใต้กรอบเนื้อหาที่กำหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ผลการวิจัยพบว่า ด้านบริบทชุมชนพุมเรียงในด้านสภาพกายภาพนั้น พุมเรียงเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็น 1 ใน 3 ตำบลที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกสุด ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน ด้านประชากร ปัจจุบัน ประชากรในตำบลพุมเรียงมีจำนวนทั้งหมด 7,783 คน ด้านประวัติศาสตร์ พุมเรียงเคยเป็นเมืองท่าที่สำคัญในอดีตและเป็นศูนย์กลางของการปกครองในฐานะเป็นอำเภอหนึ่งที่มีความสำคัญ ด้านสังคมวัฒนธรรมของชาวพุมเรียงโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิมและชาวไทยเชื้อสายจีนให้ความสำคัญกับผู้อาวุโสอีกทั้งมีความใกล้ชิดกับวัดและมัสยิดอย่างยิ่ง ด้านเศรษฐกิจ/อาชีพแต่เดิมประกอบอาชีพหลัก คือ ทำนา และการประมง ต่อมาเมื่อระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเข้ามา จึงมีการทำนากุ้ง และทำสวนปาล์มน้ำมันกันอย่างกว้างขวาง ด้านการเมืองการปกครอง/โครงสร้างอำนาจ พุมเรียงได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 วัฒนธรรมการปกครองเชิงอำนาจอันเกี่ยวข้องกับระบบอุปถัมภ์หรือระบบพรรคพวก ด้านการพึ่งพาตนเองของชุมชน ชุมชนพุมเรียงดำรงชีวิตด้วยวิถีการผลิตทางเกษตรและการประมงที่พึ่งพาตนเองทั้งแรงงานและผลผลิต ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจุบันการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการของตำบลพุมเรียงเกี่ยวกับการประปา การไฟฟ้า การสื่อสาร การศึกษาและการสาธารณสุขได้พัฒนาให้ดีขึ้นตามลำดับ ด้านสภาพชุมชน จากการที่ลักษณะพื้นที่ของตำบลพุมเรียง เป็นที่ราบที่ราบลุ่ม และมีที่ดอน สภาพดังกล่าวทำให้การตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนสัมพันธ์อยู่กับสภาพพื้นที่คือกระจายตัวอยู่ใน 5 หมู่บ้าน ด้านสภาพปัญหาของชุมชนตำบลพุมเรียง ปัจจุบันปัญหาหลัก ๆ ที่พบ ได้แก่ ปัญหาการบุกรุกทำลายพื้นที่สาธารณะ ปัญหาด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และปัญหาด้านยาเสพติด ด้านฐานเศรษฐกิจซึ่งเกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติประกอบด้วยทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าไม้ และพืชสัตว์เศรษฐกิจซึ่งแต่เดิมมีความอุดสมบูรณ์แต่ปัจจุบันลดน้อยลง ทรัพยากรบุคคลแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นกำลังการผลิต กลุ่มผู้คนวัยพึ่งพิงและกลุ่มวัยศึกษาเล่าเรียน สำหรับภูมิปัญญาและศาสตร์ชาวบ้าน หากจำแนกตามการใช้ประโยชน์ ได้แก่ ภูมิปัญญาเพื่อการยังชีพ เพื่อการพิทักษ์ชีวิตและและทรัพย์สิน เพื่อสร้างฐานะและอำนาจ เพื่อการจัดการสาธารณประโยชน์ และเพื่อการสร้างสรรค์พิเศษ ภูมิปัญญาดังกล่าวในปัจจุบันของพุมเรียงดำรงอยู่ใน 3 ลักษณะ คือ พ้นสมัย สมสมัย และควรต่อยอด ส่วนศาสตร์และเทคโนโลยีจากภายนอกในปัจจุบันพบว่า ด้านอุตสาหกรรม ตำบลพุมเรียงได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานกับแรงคนทำให้ผลผลิตมีปริมาณมากขึ้น โดยเฉพาะการทอผ้า การทำประมง และการแปรรูปอาหาร ด้านสุขภาวะของผู้คนและชุมชนของชาวพุมเรียงในปัจจุบันต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลาย ๆ ด้านที่มีผลต่อสุขภาพชีวิตและทรัพย์สินเช่น ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และปัจจัยเสี่ยงด้านการสัญจร ส่วนปัจจัยและข้อจำกัดเกี่ยวกับการขยายฐานทางเศรษฐกิจของตำบลพุมเรียงครอบคลุมใน 3 ประเด็น คือ 1) ปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับการคมนาคม การสาธารณูปโภคและการสาธารณสุข 2) อำนาจและฐานอำนาจ และ 3) แหล่งอบายมุขและสิ่งเสพติดซึ่งปัจจัยดังกล่าวล้วนส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อการขยายฐานทางเศรษฐกิจ ด้านทุนทางวัฒนธรรมอันรวมถึงวัฒนธรรมการเรียนรู้ วัฒนธรรมการทำงานวัฒนธรรมการผลิตและการบริโภค จิตสำนึกต่อท้องถิ่นและจิตสาธารณะของผู้คน จริยธรรมและธรรมาภิบาล รวมถึงวิถีพลังวัฒนธรรมเชิงรูปลักษณ์และจิตลักษณ์ของคนในตำบลพุมเรียงปัจจุบันพบว่า ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแทบทั้งสิ้นซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาประเทศสมัยใหม่ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้เข้ามาทำลายวัฒนธรรมดั้งเดิมในการดำรงชีวิต รวมทั้งจิตสำนึก จิตสาธารณะ จริยธรรมและธรรมาภิบาลของผู้คน ผู้คนในชุมชนพุมเรียงสมัยนี้ตกอยู่ใต้อำนาจของกระแสโลกาภิวัตน์ ไม่มีความภาคภูมิใจต่อความเป็นชุมชน ต่อฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนว่าเป็นทุนที่มีคุณค่า ขาดจิตสำนึกร่วมในการรวมกลุ่มเพื่อต่อต้านสิ่งที่ไม่ดีต่อชุมชนและขาดจิตสำนึกร่วมในความมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูรักษาสิ่งที่ดีงามที่ยังหลงเหลืออยู่ในชุมชนให้คงอยู่ดังเดิม คำสำคัญ : พุมเรียง, บริบทชุมชน, ฐานเศรษฐกิจ, ทุนทางวัฒนธรรม

Creator

ผิวทองงาม, สมเจตน์

Date

2018

Language

TH

Type

บทความวารสาร

Identifier

https://www.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/155697