THE ENTERING OF LIFELONG LEARNING OF THE ELDERLY PEOPLE IN THE NORTHEASTERN THAILAND ; การเข้าสู่ระบบการศึกษาตลอดชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Dublin Core

Title

THE ENTERING OF LIFELONG LEARNING OF THE ELDERLY PEOPLE IN THE NORTHEASTERN THAILAND ; การเข้าสู่ระบบการศึกษาตลอดชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Description

The study on the Entering of Lifelong Learning of the Elderly People in the Northeastern Thailand is aimed at answering 3 main questions. Firstly, it examines the factors contributing to the increasing number of the elderly people entering into lifelong learning through the informal and non-formal education in the Northeastern Thailand. Secondly, it explores the roles of governmental sector and the local community in supporting the elders to join lifelong learning. The final objective is to find the extent to which lifelong learning has contributed to the increasing social, economic, and individual security, known as human security, of the elderly people in the Northeastern area. This study employs a mixed quantitative and qualitative methodology using questionnaire, focus group and in-depth interview techniques. The study demonstrates that there are 4 main factors which are considered integral to the increasing number of the elderly people entering into lifelong learning in the Northeast of Thailand, especially through the informal and non-formal education. These factors are personal experiences, self-concept, readiness and orientation to learn. The role of governmental sector such as those working in the local and the support from the community are supplementary factors which help promote the interest of the elders to join lifelong learning. In addition, the study shows that lifelong learning through the informal and non-formal education has increased the elder’s economic, social and personal security. ; งานวิจัยเรื่องกระบวนการเข้าสู่ระบบการศึกษาตลอดชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่ระบบการศึกษาตลอดชีวิตโดยผ่านระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมากขึ้น และเพื่อศึกษาบทบาทขององค์กรภาครัฐ สังคมและชุมชนในการมีส่วนสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเข้าสู่ระบบการศึกษาตลอดชีวิตโดยผ่านระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยรวมทั้งมุ่งหาความเกี่ยวเนื่องของการเข้าสู่ระบบการศึกษาตลอดชีวิตโดยผ่านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกับการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งประกอบไปด้วยความมั่นคงทางสังคม ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงส่วนบุคคลของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าสู่ระบบการศึกษาตลอดชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ 1)ประสบการณ์ส่วนตัว (Experience) 2) มโนภาพเกี่ยวกับตนเอง (Self-concept) 3) ความพร้อมของผู้สูงอายุ (Readiness) ในเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิต และ 4) แนวโน้มในการเรียนรู้ (Orientation to Learn) นอกจากนี้ บทบาทของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชนและชุมชน เป็นองค์ประกอบเสิรมที่สำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความสนใจที่จะเข้าสู่ระบบการศึกษาตลอดชีวิตมากขึ้น อนึ่ง จากการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุในพื้นที่มองว่าการเข้าสู่ระบบการศึกษาตลอดชีวิตมีส่วนอย่างมากในการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ด้านเศรษฐกิจ คือเสริมสร้างทักษะในการประกอบอาชีพ ความมั่นคงด้านสังคม คือ การทำให้ผู้สูงอายุยืนหยัดอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคงและความภาคภูมิใจในชุมชน และความมั่นคงด้านบุคคล ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุยืนอยู่ในชุมชนได้อย่างภาคภูมิใจและตระหนักถึงศักยภาพของตนเองมากขึ้น

Creator

ธีระฐิติ, นภเรณู สัจจรักษ์

Date

2018

Language

TH

Type

บทความวารสาร

Identifier

https://www.tci-thaijo.org/index.php/spurhs/article/view/117185