Development of the Continuous Care Guidelines for the Home - Bound and Bed - Bound Elders Living in the Vicinity of Family Practice Center, Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital. ; การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มติดบ้านติดเตียง ในชุมชนเขตศูนย์เวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

Dublin Core

Title

Development of the Continuous Care Guidelines for the Home - Bound and Bed - Bound Elders Living in the Vicinity of Family Practice Center, Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital. ; การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มติดบ้านติดเตียง ในชุมชนเขตศูนย์เวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

Description

This research aims to improve the suitability and effectiveness of the job of continuous home care for the patients of Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital, by using the existing resources. Moreover, this research is an Experimental Development Research, Control Group Post-test Design. The Experimental group are 30 home-bound and bed-bound elder patients who were admitted at and discharged from Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital during 2013 October 1 - November 30. The control group consists of 30 home-bound and bed-bound elder patients who were admitted at and discharged from In-Patient Ward, Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital during 2013 August 1 - September 30. The research instruments applied include the development of ‘Friends for Friends’ Volunteer Group, World Health Organization’s Assessment Form on Life Quality (WHOQOL-BREF), Record on Activities Practiced, and Patient Discharge Form. By the result of the research, it is found out that, after applying the new model for continuous home care, the performance of patient care is better than applying the former model, in the aspect of model’s suitability, the coverage of continuous home care for patients, and the scores on assessing life quality because the team accepts the results of the assessment on job supervision, and is ready to improve the quality of the job, according to the Community Medical Unit and Nursing Professional Standards. ; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนางานดูแลผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง ต่อเนื่องที่บ้านโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ เป็นวิจัยพัฒนาเชิงทดลอง (Experimental development research) แบบ 2 กลุ่ม วัดผลหลังการทดลอง (Control GroupPost-test Design) กลุ่มทดลองได้แก่ผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง ที่ป่วยและจำหน่ายออกจากหอผู้ป่วยโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม - 30 พฤศจิกายน 2556 จำนวน 30 คน กลุ่มควบคุมได้แก่ผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง และจำหน่ายออกจากหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 30 กันยายน 2556 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่อาสาสมัครจิตอาสา “เพื่อนช่วยเพื่อน” แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก (WHOQOL-BREF)แบบบันทึกกิจกรรม และแบบจำหน่ายผู้ป่วย ผลการศึกษาพบว่า เมื่อได้นำรูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องที่บ้านรูปแบบใหม่ไปดำเนินการแล้วพบว่า ผลการดำเนินงานดีขึ้นกว่ารูปแบบเดิม ทั้งในด้านความเหมาะสมของรูปแบบ ผลด้านความครอบคลุมการได้รับบริการดูแลต่อเนื่องที่บ้านของผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง และผลคะแนนประเมินคุณภาพชีวิต เนื่องจากทีมงานยอมรับในผลการตรวจประเมิน นิเทศงานและมีความพร้อมในการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน และมาตรฐานการพยาบาลในชุมชน

Creator

สำอางค์ศรี, สุภารัตน์

Date

2018

Language

TH

Type

บทความวารสาร

Identifier

https://www.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/159275