การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไทยพุทธในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท :กรณีศึกษาบ้านนาโปร่ง ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

Dublin Core

Title

การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไทยพุทธในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท :กรณีศึกษาบ้านนาโปร่ง ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

Description

This study was to examine the self-health care of Thai Buddhist elderly in suburban area,Ban Na-Plong, tambon Tha-Sao, amphur Muang,Uttaradit province, Thailand. The structure interviewschedules were used for collecting data from 80 Buddhist elderly, 60 years and above. Content validitytesting by using experts and reliability testing by using Cronbach’s Alpha Coefficient was at .93 .Theinterview guideline was used for those population. Quantitative data analysis were used, frequency,percentage, mean, standard deviation.Content analysis was used for qualitative data.The results showed that overall of self-health care of the elders were at a high level (? = 3.95,? = 0.38 ) The highest score of dimension of self health care was arokaya (disease reduction) (? =4.43,? = 0.57)at a highest level ,and the ranking were abayamuk (temptation) and emotion (? = 4.40, ? =0.77 and ? = 4.20, ? = 0.62 respectively) The lowest score of dimension was exercise at a mediumlevel (? = 3.06, ? = 0.97) Moreover, the elders had opinion that they were owner of their self-health careand should maintain for well-being. Suggestion: Sub-district Health Service Center and the relevantauthorities should accelerate the promotion of self-health care of the elderly to do the exercise continuedthat appropriate for their age and context. ; การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไทยที่นับถือศาสนาพุทธในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ศึกษาในประชากรผู้สูงอายุบ้านนาโปร่ง ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและนับถือศาสนาพุทธ จำนวน 80 คน รวบรวมข้อมูลทั้งวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมเชิงปริมาณใช้แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้เท่ากับ .93 และวิธีเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เป็นประเด็นคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุ มีค่าคะแนนเฉลี่ยการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวมอยู่ในระดับสูง(? = 3.95, ? = 0.38 ) โดยพบว่า ผู้สูงอายุมีค่าคะแนนเฉลี่ยการดูแลสุขภาพตนเองมากที่สุดในด้านอโรคยาอยู่ในระดับสูงมาก (? = 4.43, ? = 0.57) รองลงมาคือ ด้านอบายมุขและด้านอารมณ์ อยู่ในระดับสูงมาก(? = 4.40, ? = 0.77 และ ? = 4.20, ? = 0.62 ตามลำดับ) และน้อยที่สุด คือด้านการออกกำลังกาย อยู่ในระดับปานกลาง (? = 3.06, ? = 0.97) และผู้สูงอายุเห็นว่าการดูแลสุขภาพเป็นเรื่องของตนเองที่จะต้องคงไว้เพื่อสุขภาพดีจากผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า หน่วยบริการสุขภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งรัดให้มีการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุไทยพุทธด้านการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยและบริบทผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง

Creator

มโนรัตน์, ประภาพร

Date

2018

Language

TH

Type

บทความวารสาร

Identifier

https://www.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/113486