Elderly Tourism Behavior: A Case Study in Khon Kaen Municipality ; พฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาในเขตเทศบาลนครขอนแก่น

Dublin Core

Title

Elderly Tourism Behavior: A Case Study in Khon Kaen Municipality ; พฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาในเขตเทศบาลนครขอนแก่น

Description

This research aimed to study tourism behavior and analyze factors influencing tourism expenditure of elders living in Khon Kaen Municipality. The sample group consisted of elders living in urban areas of Northeast Thailand. The results showed that the sample group of elders who had traveled in the last year had an average age of 65 years and average income of THB 20,968 per month. Travel expenditure averaged THB 10,208 and the study’s participants had taken an average of 2 trips. Most of the elders expressed liking to travel to historical attractions and usually traveled in the winter, findings that differed from previous studies. Multiple regression analysis using OLS showed that number of trips, length of stay for each trip, and transportation mode used for tourism were statistically significant factors influencing tourism expenditure of elders. Age, gender, and income were insignificant factors, a finding inconsistent with previous studies, which have identified correlations between gender, age, income, and tourism expenditure (Jang and Ham, 2009; Kuo and Lu, 2013; Nimhiranwong, 2001). The difference in findings may be due to the socio-economic differences between the elderly samples. This suggests that strategic planning in tourism targeting elderly populations should focus on niche marketing in order to meet the needs of different groups of elders. This information is useful for policy makers and operators working in the tourism industry. ; งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างหนึ่งของผู้สูงอายุในเขตเมือง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอายุ 65 ปี มีค่าเฉลี่ยรายได้เท่ากับ 20,968.30 บาทต่อเดือน และค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในรอบ 1 ปีที่ผ่านมานั้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10,208.10 บาท จำนวนครั้งในการเดินท่องเที่ยวมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ครั้ง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และเดินทางในช่วงฤดูหนาว ซึ่งมีความแตกต่างจากผลการศึกษาอื่นที่ผ่านมา สำหรับผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวของผู้สูงอายุโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple regression analysis) ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Square) พบว่า จำนวนครั้งในการเดินทางท่องเที่ยว ระยะเวลาที่ใช้ในการท่องเที่ยวในแต่ละครั้ง และรูปแบบของการเดินทาง เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นปัจจัยทางด้านเพศ อายุและรายได้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาของ Jang and Ham (2009) และ Kuo and Lu (2013) ที่พบว่า อายุและรายได้มีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุและ Nimhiranwong (2001) ที่พบว่าเพศและรายได้มีความสัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยว ทั้งนี้ อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่ศึกษา ดังนั้น การกำหนดกลยุทธ์การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ ควรมุ่งเน้นการตลาดแบบเฉพาะกลุ่ม (Niche marketing) เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มได้ ซึ่งข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้วางแผนนโยบายและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อไป

Creator

กระจ่างพัฒน์วงษ์, หนึ่งหฤทัยรัตน์; พัวรัตนอรุณกร, อรอนงค์

Date

2019

Language

TH

Type

บทความวารสาร

Identifier

https://www.tci-thaijo.org/index.php/kkbsjournal/article/view/178839